ขั้นตอนการผลิตกระจูด
การเตรียมกระจูด
1. เริ่มตั้งแต่คัดเลือกหรือแยกกระจูดตามความยาว
จนถึงทำ กระจูดให้แบนพร้อมที่จะจะนำมาสานได้
ซึ่งแต่ละพื้นที่มีขันตอนต่างกันไม่มากนัก
2. นำกระจูดมาเข้าที่สำหรับคัดเลือกหรือแยกความสั้นยาวโดยนำกระจูดมาจับทีละกำป่า
หรืออาจจุมากน้อยกว่าเล็กน้อยมาวางในแนวตั้ง
แล้วดึงต้นกระจูดที่ยาวออกไปรวมไว้อีกแห่งหนึ่ง
เรียกการคัดเลือกกระจูดโดยวิธีนี้ว่า "โซะกระจูด "
ใช้มีดตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก
นำกระจูดที่ได้คัดเลือกแล้วคลุกน้ำโคลนดินสอในรางน้ำที่เตรียมไว้เมื่อได้ที่แล้วนำมาตากแห้งประมาณ
2 - 3 วัน แล้วเก็บเข้าที่เก็บไว้ 4 - 5 วัน
เพื่อให้ต้นกระจูดคลายตัว เมื่อจะใช้ก็เอากระจูดไปตากน้ำค้าง 1 คืน
เพื่อให้ต้นกระจูดลื่นสะดวกในการทิ่ม จากนั้นนำไปทิ่มหรือทุบทีละมัด
โดยนำไปไปวางบนแท่งไม้สี่เหลี่ยม ทิ่มหรือทุบให้แบนด้วยสากตำข้าวหัวตัด การทิ่มจะทิ่มคนเดียวหรือสองคนก็ได้แล้วแต่สะดวกโดยใช้เท้าทั้งสองเหยียบมัดกระจูดไว้เดินหน้า
ถอยหลัง
ทิ่มจนกระจูดแบนตามต้องการจากนั้นก็แก้มัดออกปอกกาบโคนของลำต้นทิ้งแล้วเก็บเข้าที่ไว้สานต่อไป
3. ในกรณีที่ต้องการย้อมสี
นำกระจูดที่ทิ่มและตากน้ำค้าง 1 คืน แล้วมาทับด้วนลูกกลิ้งน้ำหนักประมาณ 100
กิโลกรัม
จนแบนตามต้องการแล้วนำไปแช่น้ำไว้ ต้มน้ำให้เดือดเอาสีใส่น้ำคนให้สีละลายดี
แล้วนำกระจูดที่จะย้อมมาพับจุ่มลงไปในน้ำสีแช่ไว้ประมาณ 2 - 3 นาที
จึงนำขึ้นไปผึ่งแดดประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง แล้วนำไปเก็บไว้ในที่ร่ม ข้อควรระวังในการย้อม
คือ ระยะเวลาของการย้อมต้องกำหนดให้เท่าเท่ากันทุกครั้ง
มิฉะนั้นจะได้กระจูดที่มีสีไม่เสมอกัน
การย้อมสีกระจูดจะทำให้ลายจักรสานเด่นขึ้นกว่าปกติ
การสาน
ใช้สถานที่ภายในบ้านเรือนหรือชานเรือน
หรือลานบ้านที่มีพื้นเรียบเป็นสถานที่สาน
ถ้าไม่ค่อยเรียบมักจะใช้เสื่อที่สานเสร็จแล้วรองอีกชั้นหนึ่ง วิธีการสาน
นำต้นกระจูดที่เตรียมไว้เรียบร้อยแล้วมาสานเป็นลายต่าง ๆ
ตามความสามารถและความต้องการของผู้สานโดยปกติจะสานด้วยลายสอง ถ้าสานเป็นเสื่อจะเริ่มต้นจากริม
คือตั้งต้นจากปลายตอกด้านใดด้านหนึ่งไปจนสุดปลายตอกอีกด้านหนึ่ง แต่ถ้าเป็นถาชนะ
เช่น กระสอบนั่ง จะเริ่มต้นจากกึ่งกลางของตอก ท่านั่งสานที่สะดวก คือ
นั่งขัดสมาธิและนั่งชันเข่าข้างเดียว เมื่อสานต้องให้ปลายต้นกับโคนต้นสลับกัน
มิฉะนั้นจะทำให้เสียรูปได้ เพราะขนาดต้นกระจูดส่วนโคนต้นจะโตกว่าส่วนปลาย
เทคนิควิธีสานจะแตกต่างกันตามรูปแบบและชนิดของผลิตภัณฑ์และถนัดของผู้สานโดยเฉพาะเสื่อ
มีผู้ศึกษาพบว่าที่หมู่บ้านทะเลน้อยนี้มีสานเป็นลายต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 20 ลาย เช่น
ลายสอง ลายสาม ลายสี่ ลายดอกจันทน์ ลายก้านต่อดอก ลายดาวล้อมเดือน ลายพัด
ลายดอกจันทน์แขก ลายดอกพิกุล ลายก้างปลา ลายพม่ารำขวาน ลายขนมปัง ลายดอกไม้
ลายตีนสุนัข ลายยายชิงเมือง ลายใยแมงมุม ลายสี่หน่วยใน ลายลูกแก้ว ลายกระดานหมาก
และลายประดิษฐ์อื่น ๆ เช่น ลายตัวหนังสือ ลายที่นิยมสานกันมากที่สุด คือ ลายสอง
นอกจากสานเป็นลายเสื่อและยังสานเป็นภาชนะต่าง ๆ
หมู่บ้านที่มีการประกอบการกันอย่างกว้างขวาง เช่นที่บ้านทะเลน้อย
ผู้สานจะมีตั้งแต่วัยเด็กอายุ 7 ขวบ ถึงคนชราอายุ 60 - 70 ปี
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง ผู้ชำนาญการจะสานเสื่อได้วันละ 3 - 4 ผืน
การตกแต่ง
งานสานเสื่อกระจูดเป็นงานที่เกือบจะพูดได้ว่า
ทำเสร็จเรียบร้อยแล้วในคราวเดียว มีการตกแต่งต่อเติมน้อย คือ
มีการเก็บริมหรือพับริม อย่างที่ชาวทะเลน้อยเรียกว่า "เม้ม "
และการตัดหนวด คือปลายตอกที่เหลือออกเท่านั้น การเก็บริม หรือการพับริมพบว่า มี 2
แบบ
คือ แบบพับกลับ คือ การพับปลายตอกเข้าหาผืนเสื่อสานตามลายสานเดิมประมาณ 3 -
4 นิ้ว
แล้วตัดส่วนที่เหลือออก แบบช่อริม คือ
การพับปลายตอกที่เหลือให้คุมกันเองคล้ายกับการถักแล้วตัดส่วนทีเหลือ ออก
การเก็บรักษา
เสื่อที่สานเสร็จเรียบร้อยแล้วจะถูกเก็บไว้ในที่ร่มไม่ให้ถูกน้ำเพราะถ้าถูก
น้ำฝนจะทำให้เกิดเชื้อราและเสียหายเร็ว วิธีเก็บมี 2 แบบ คือ
ม้วนเก็บและซ้อนเก็บ
อุปกรณ์เครื่องมือ
อุปกรณ์เครื่องมือ ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์เครื่องมือใช้ในการเตรียมวัสดุก่อนสาน ประกอบด้วย
1.ที่สำหรับคัดขนาดความยาวของกระจูด ที่สำหรับผึ่งหรือตากกระจูด คือ ลานบ้าน หรือที่โล่งเตียน2.ที่รองทิ่มหรือทุบกระจูด คือ แท่งไม้ขนาดประมาณ 35 C 200 เซนติเมตร ใช้เป็น สากปลายตัดสำหรับทิ่มหรือทุบกระจูด
3.ลูกกลิ้งทรงกระบอกคล้ายครกตำข้าวใช้กลิ้งทับต้นกระจูด
4.ภาชนะสำหรับใช้ในการย้อมสี
5.กรรไกร หรือมีดตัดหนวดเสื่อใช้เมื่อสานเสร็จ และจักรเย็บผ้า ใช้เย็บรอยต่อของผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ เช่น เสื่อ พับ และกระเป๋าถือแบบต่าง ๆ เป็นต้น